What is Offset Printing ?
ความรู้เกี่ยวกับระบบการพิมพ์ออฟเซ็ท
งานพิมพ์ระบบออฟเซ็ท หรือ Printing Offset System คือเทคนิคการพิมพ์มาตรฐานที่ดีที่สุดและนิยมมากที่สุดในโลก โดยระบบพิมพ์ออฟเซ็ทนี้จะใช้ลูกกลิ้งคู่ (ภาษาโรงพิมพ์เรียกว่า โมแท่นพิมพ์) ซึ่งทำด้วยยางทำหน้าที่ถ่ายทอดหมึกผ่านลูกกลิ้นก่อนแล้วจึงลงไปสู่แผ่นกระดาษที่ใช้พิมพ์ ซึ่งระบบการพิมพ์ด้วยลูกกลิ้งคู่นี้พัฒนามาจากการพิมพ์ด้วยหิน หรือที่เราเรียกว่า Lithography Printing ซึ่งเป็นการพิมพ์ภาพหิน ซึ่งเป็นเทคนิคการพิมพ์ที่ใช้หินปูนพิมพ์หิน (Lithographic Limestone) หรือแผ่นโลหะที่มีผิวเรียบ เดิมใช้น้ำมันหรือไขมัน ปัจจุบันใช้พอลิเมอร์ทำปฏิกิริยากับแผ่นพิมพ์อลูมิเนียม ซึ่งเราเรียกว่า แผ่นเพลท ของระบบการพิมพ์ออฟเซ็ท โดยพื้นผิวที่ราบเรียบจะแบ่งออกเป็น บริเวณซับน้ำ (Hydrophilic) และบริเวณต้านน้ำ (Hydrophobic) ระบบพิมพ์ด้วยหินนี้เป็นเทคนิคที่ประดิษฐืขึ้นโดยชาวบาวาเรีย ในปี ค.ศ. 1796 โดยขณะนั้นใช้ภาพพิมพ์หินในการพิมพ์งานศิลปะเพื่อลดต้นทุน ซึ่งเป็นที่มาของระบบการพิมพ์ปัจจุบันที่เรียกว่า Offset Lithography
การพิมพ์ระบบออฟเซ็ท Offset Printing
การพิมพ์ระบบออฟเซ็ท คือการพิมพ์มาตรฐานที่อาศัยแม่พิมพ์หรือที่เราเรียกว่า “เพลท (Plate)” ซึ่งทำจากแผ่นอลูมิเนียมอาบด้วยน้ำยาเคมีที่ทำให้เพลทอมหมึกแต่ไม่อมน้ำแล้วผ่านขบวนการทำแม่พิมพ์ซึ่งปัจจุบันเกือบ 100% ใช้ระบบ CTP หรือ Computer to Plate ซึ่งเป็นระบบที่เราสามารถนำไฟล์ออกแบบกราฟฟิกที่ทำจากโปรแกรมสำหรับโรงพิมพ์ที่ส่วนใหญ่เป็นของค่าย Adobe เช่น Adobe Illustrator, Adobe InDesign, Adobe Photoshop, หรืองานที่ทำเป็นไฟล์ PDF for Print แล้วเข้าระบบ Imposition หรือระบบเลย์งานเพื่อพิมพ์เสร็จแล้วสามารถออกเพลทหรือแม่พิมพ์สำหรับใช้ในการขึ้นแท่นพิมพ์ได้ทันที
ระบบพิมพ์ออฟเซ็ทเป็นระบบการพิมพ์ที่มีแท่นพิมพ์หลากหลายขนาด ในยุคหลายสิบปีที่แล้ว ประเทศไทยยังใช้ระบบพิมพ์แบบเดิมที่เราเรียกว่าระบบ Letterpress หรือระบบตีธง ที่เป็นการเอาตัวอักษรตะกั่วมาเรียงเพื่อใช้กดพิมพ์ ซึ่งให้งานที่ไม่สวย แต่พิมพ์งานจำนวนมากได้ในเวลาที่เร็วพอสมควร หลังจากนั้นระบบออฟเซ็ทก็ได้เข้ามาเป็นที่นิยมจนระบบ Letterpress หรือระบบเครื่องตีธงค่อย ๆ หายไป แต่ในช่วงแรกแม่พิมพ์ออฟเซ็ทไม่ใช่ระบบ CTP แบบปัจจุบัน และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็ไม่ได้ออกแบบสำหรับระบบที่แยกสีได้ ระบบที่ดีที่สุดในสมัยก่อนในช่วงที่ระบบพิมพ์ออฟเซ็ทเริ่มเป็นที่นิยมแทนระบบตีธงคือ การออกแบบกราฟฟิกด้วยเครื่อง Apple Computer หรือระบบ Macintosh นั่นเอง โดยใช้โปรแกรมคล้ายปัจจุบันแต่ต้องนำไป Output ออกเป็นงานพิมพ์โบรไมด์ที่ให้ความคมชัดสูง หลังจากนั้นจึงนำโบรไมด์ไปประกอบวาง Guide งานให้ร้านแยกสีถ่ายฟิล์มทำเพลท ทำหน้าที่นำกล้องถ่ายฟิล์มมาถ่ายโบรไมด์ให้เป็นฟิล์มและใช้ช่างฝีมือในการประกอบฟิล์มให้เป็นงานแยกสี CMYK แล้วจึงทำเพลท ระบบนี้ถือว่าเป็นระบบที่ช่วยให้งานพิมพ์ในประเทศไทยมีคุณภาพสูงขึ้นไปอีกระดับ และหลังจากนั้นจึงมีการพัฒนาทั้ง Software และ Hardware ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นของค่าย Adobe และ Apple Computer ร่วมกันจนทำให้กราฟฟิกดีไซน์เนอร์ยุคถัดมา จะเป็นผู้ทำไฟล์ที่พร้อมแยกสีแล้วออกเป็นฟิล์มแยกสี CMYK โดยไม่ต้องอาศัยการถ่ายโบรไมด์และนำโบไมด์ไปถ่ายฟิล์มประกอบมืออีกต่อไป ระบบใหม่นี้เราเรียกว่า CTF หรือ Computer to Film ที่ทำให้งานพิมพ์มีความแม่นยำ ลดการเหลื่อมของการเลย์ฟิล์มและให้ค่าการพิมพ์ที่ละเอียดกว่าการถ่ายด้วยกล้องถ่ายฟิล์ม จวบจนปัจจุบันในประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา ระบบ CTP ได้เริ่มเข้ามาสู่การพิมพ์ในโลกนี้รวมถึงประเทศไทย การพิมพ์งานออฟเซ็ทปัจจุบันจึงมีความแม่นยำและรวดเร็ว เพราะเราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ทั้ง Apple Macintosh และ PC ธรรมดา ใช้กับโปรแกรม Adobe ที่มีทั้ง 2 แพลทฟอร์ม ในการสร้างสรรค์งานกราฟฟิก และสามารถนำมายิงแยกสีตรงให้ได้เพลทหรือแม่พิมพ์ ระบบ CTP จึงเป็นระบบที่เปลี่ยนวิธีการผลิตงานพิมพ์โดยทำให้งานได้คุณภาพสูงขึ้น รวดเร็วขึ้นและแม่นยำมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันงานพิมพ์ระบบออฟเซ็ทยังสามารถทำได้โดยคนธรรมดาที่ไม่ใช่กราฟฟิกดีไซน์เนอร์ ด้วยเหตุที่ปัจจุบันโลกเราอยู่ในยุคออนไลน์และทุกคนใช้เครื่องสมาร์ทโฟน การทำกราฟฟิกจึงเป็นเรื่องจำเป็น ดังนั้นจึงมีบริษัทที่สร้างสรรค์ Application ที่ช่วยให้คนธรรมดาสามารถสร้างสรรค์งานได้ง่าย ๆ ทั้งงานตกแต่งรูป ใส่สเปคเชียลเอฟเฟครูป หรือแม้กระทั่งทำอาร์ตเวิร์คระดับโปรโดยไม่มีความรู้ด้านโปรแกรมกราฟฟิก เช่น โปรแกรม Canva ที่เป็นที่นิยมกันทั่วโลกในการสร้างกราฟฟิกทุกชนิดรวมถึงสิ่งพิมพ์ได้ฟรีหรือแบบจ่ายเงินถ้าต้องการ Template และภาพประกอบจาก Photobank ได้ นอกจากโปรแกรมประเภท Application แล้ว ในการเข้าสู่องค์ความรู้ของโปรแกรมกราฟฟิกก็ทำได้ง่ายด้วยการเข้าเรียนใน Youtube ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญหรือครูผู้สอนมาถ่ายทอดการใช้โปรแกรมกันฟรีในโลกออนไลน์ การเข้าถึงการออกแบบสำหรับส่งโรงพิมพ์จึงเป็นสิ่งที่ง่ายมากในโลกยุคปัจจุบัน
ในแง่ของระบบ CTP ที่ทำแม่พิมพ์นั้นจริง ๆ แล้วแบ่งออกได้เป็น 2 ระบบใหญ่ ๆ คือระบบ Infrared และระบบ Thermal ซึ่งระบบ CTP ระบบที่ได้รับการยอมรับว่าให้คุณภาพงานพิมพ์ระดับคุณภาพและคมชัดที่สุด เราต้องเลือกโรงพิมพ์ที่ใช้เพลทที่ทำจาก CTP ระบบ Thermal ซึ่งเป็นองค์ประกอบจำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการงานพิมพ์ระดับคุณภาพ เพราะงานพิมพ์ของโรงพิมพ์บางแห่งเน้นการขายแบบแข่งขันราคาจึงเน้นการผลิตทุกขั้นตอนให้มีต้นทุนที่ถูกที่สุด ซึ่งเพลทหรือแม่พิมพ์ออฟเซ็ทระบบ Infrared มีราคาถูกกว่าเพลทที่ทำจากระบบ Thermal ค่อนข้างมาก
นอกจากเรื่องเพลทแล้ว สีในระบบการพิมพ์ออฟเซต Offset Printing ก็เป็นปัจจัยที่ต้องให้ความสนใจ หมึกพิมพ์ก็ยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก ๆ ในการพิมพ์งาน การพิมพ์งานด้วยหมึก CMYK หรือหมึกชุดออฟเซ็ทปกติ ในแต่ละยี่ห้อก็มีข้อแตกต่างกัน ในประเทศไทยการจัดซื้อสิ่งพิมพ์ยังมีความแตกต่างในแง่ของมืออาชีพในการซื้อ ปกติการจ้างงานจะพยายามคัดเลือกโรงพิมพ์โดยเน้นที่พูดเรื่องคุณภาพงาน แต่ตอนตัดสินใจจะลงเอยที่ “ราคา” โดยตัดสินใจเลือกโรงพิมพ์ที่ให้ราคาถุกที่สุด โดยไม่เข้าใจว่าต้นทุนผลิตในการผลิตงานคุณภาพใช้วัสดุหรือวัตถุดิบในการผลิตที่แตกต่างกัน หมึกที่ใช้พิมพ์ออฟเซ็ทบางชนิด เช่น หมึก Soy Ink เป็นหมึกจากญี่ปุ่น รักษาสิ่งแวดล้อมและยังให้ Color Gamut หรือขอบเขตในการแสดงสีสูงกว่าหมึกพิมพ์ชุดทั่วไป โดยหากผู้ที่ตรวจวัดงานพิมพ์ใช้เครื่อง Spectrophotometer มาตรวจสีที่พิมพ์จากหมึกพิมพ์ธรรมดาและหมึกพิมพ์ Soy Ink อาจพบค่าว่าเท่ากัน แต่ด้วยสายตาที่เรามองสีของหมึก Soy Ink จะสว่างและสดใสกว่า นี่คือสิ่งที่แตกต่างอีกประการหนึ่งของการเลือกวัสดุในการผลิตจากโรงพิมพ์ที่เน้นการแข่งขันราคาและโรงพิมพ์ที่เน้นงานพิมพ์คุณภาพ
ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือแท่นพิมพ์ แท่นพิมพ์หรือ Offset Press แต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น จะมีความแตกต่างในแง่ของเทคโนโลยี่ในการสร้างสรรค์งานพิมพ์ เครื่องพิมพ์มีขนาดตั้งแต่ตัด 11, ตัด 5, ตัด 4, ตัด 3, ตัด 3 พิเศษ, ตัด 2 และตัด 1 เป็นต้น ซึ่งคำว่า “ตัด” คือกระดาษแผ่นใหญ่ 1 แผ่นตัดได้กี่แผ่นเล็ก ดังนั้นแท่นพิมพ์ตัด 11 คือแท่นพิมพ์ขนาดเล็กที่สุด ส่วนแท่นพิมพ์ขนาดตัด 1 คือแท่นพิมพ์ใหญ่สุด ระบบการพิมพ์ออฟเซ็ทในแง่ของแท่นพิมพ์นอกจากแยกแยะขนาดของงานที่สามารถพิมพ์ได้ ยังมีเรื่องปลีกย่อยของรุ่นของแท่นพิมพ์ซึ่งในขนาดแท่นตัดเดียวกันมีโมเด็ลรุ่นแท่นพิมพ์ที่บางรุ่นออกแบบสำหรับพิมพ์งาน Commercial Print ทั่วไป เช่น ใบปลิว หนังสือ แคตตาล็อก เป็นต้น และแท่นที่ออกแบบสำหรับพิมพ์งาน Packaging หรือบรรจุภัณฑ์ ซึ่งอาจต้องรองรับกระดาษที่หนากว่าและความสามารถในการพิมพ์สีที่เรียบและสม่ำเสมอกว่า เป็นต้น
นอกจากที่อธิบายมาเบื้องต้น ยังมีปัจจัยอีกมากสำหรับระบบพิมพ์ออฟเซ็ท Offset Print ในแง่ของคุณภาพงาน ซึ่งปัจจัยหลักจะเป็น เพลทหรือแม่พิมพ์ ระบบสร้างแม่พิมพ์ หมึกพิมพ์ แท่นพิมพ์ แต่ก็ยังมีปัจจัยอีกมากมายเช่น ชนิดกระดาษ ยี่ห้อกระดาษ ขบวนการหลังการพิมพ์เช่น การเคลือบ UV เคลือบลามิเนตเงาหรือลามิเนตด้าน เคลือบ Spot UV ปั๊ม K ทอง การพิมพ์สีพิเศษ สี Metallic สี Pantone เป็นต้น ซึ่งระบบการพิมพ์ที่ดีต้องเลือกโรงพิมพ์ที่มี Knowhow และมีความละเอียดในการเลือกใช้วัสดุกับเข้าใจขบวนการพิมพ์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการแยกระหว่างโรงพิมพ์ออฟเซ็ทเกรดดีและโรงพิมพ์ออฟเซ็ททั่วไปที่เน้นงานราคาถูกอย่างเดียว
ข้อดีของการพิมพ์ออฟเซ็ท Offset Printing
1. ระบบพิมพ์ Offset Printing เหมาะกับงานพิมพ์จำนวนมาก
ระบบออฟเซ็ท Offset Printing เหมาะกับการพิมพ์งานจำนวนมาก เพราะแท่นพิมพ์ระบบออฟเซ็ทมาตรฐานสามารถพิมพ์งานได้ความเร็วสูงประมาณ 15,000 แผ่นต่อชั่วโมง ถ้างานที่สีหนักหรืองานคุณภาพอาจลดความเร็วในการพิมพ์ที่ 3,000, 5000, หรือ 8,000 ใบพิมพ์ต่อชั่วโมง ซึ่งเหมาะกับงานพิมพ์ใบปลิว โปสเตอร์ โบรชัวร์ หนังสือ ถุงกระดาษ กล่องกระดาษ Packaging ต่าง ๆ ซึ่งโดยปกติจะพิมพ์ในจำนวนหลักพันหลักหมื่นใบพิมพ์
2. ระบบพิมพ์ Offset Printing เหมาะกับงานพิมพ์ขนาดใหญ่
แท่นพิมพ์ออฟเซ็ทมีหลายขนาด ซึ่งสามารถพิมพ์งานตามขนาดของสิ่งพิมพ์ที่แท่นพิมพ์รองรับได้
2.1 เครื่องพิมพ์ตัด 11 พิมพ์ได้ขนาด 9 x 13 นิ้ว
2.2 เครื่องพิมพ์ตัด 5 พิมพ์ได้ขนาด 12.5 x 18 นิ้ว
2.3 เครื่องพิมพ์ตัด 4 พิมพ์ได้ขนาด 17.25 x 24.5 นิ้ว
2.4 เครื่องพิมพ์ตัด 3 พิมพ์ได้ขนาด 19 x 28.5 นิ้ว
2.5 เครื่องพิมพ์ตัด 3 พิเศษ พิมพ์ได้ขนาด 20 x 31.5 นิ้ว
2.6 เครื่องพิมพ์ตัด 2 พิมพ์ได้ขนาด 24 x 35.5 นิ้ว
2.7 เครื่องพิมพ์ตัด 2 พิเศษ พิมพ์ได้ขนาด 27 x 39 นิ้ว
2.5 เครื่องพิมพ์ตัด 1 พิมพ์ได้ขนาด 31 x 43 นิ้ว
3. ระบบพิมพ์ Offset Printing เหมาะกับงานพิมพ์คุณภาพมาตรฐาน
ปัจจุบันระบบกราฟฟิกที่ทำการออกแบบพร้อมพิมพ์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ Macintosh และ Windows ต่างรองรับซอฟแวร์กราฟฟิกชื่อดังค่าย Adobe ซึ่งได้มีการวางมาตรฐานการจัดการสีและความละเอียดที่สอดคล้องกับการพิมพ์หลากหลายระบบ โดยเฉพาะการพิมพ์ภาพซึ่งเป็นไฟล์ประเภท Raster นั้นในการออกแบบมักจะทำไฟล์ขนาด 266 ppi, 300 ppi, 350 ppi หรือ 400 ppi ซึ่งจะสอดคล้องกับความละเอียดในการออกเพลทเพื่อพิมพ์งานออฟเซ็ท ที่มีสูตรการคำนวณค่าความละเอียดในการพิมพ์เป็น lpi หรือ Line per Inch ซึ่ง lpi = ppi หาร 2 ซึ่งหมายถึงแท่นพิมพ์ออฟเซ็ทที่พิมพ์งานคุณภาพจะรองรับการพิมพ์ได้ที่ 133 lpi, 150 lpi, 175 lpi หรือ 200 lpi สำหรับงานพิมพ์คุณภาพในวัสดุที่แตกต่างกันและความละเอียดก็ขึ้นอยู่กับแท่นพิมพ์ในการรองรับ lpi ได้สูงระดับไหนด้วย
4. ระบบพิมพ์ Offset Printing ยิ่งพิมพ์จำนวนมาก ราคายิ่งถูก
ระบบพิมพ์ออฟเซ็ท เป็นระบบการพิมพ์มาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับการพิมพ์งานจำนวนมาก ในสมัยก่อนงานพิมพ์ออฟเซ็ทนิยมพิมพ์ที่จำนวน 500 – 1000 ใบขึ้นไป ยิ่งถ้าพิมพ์หลายหมื่น หลายแสน หรือหลักล้านใบ ระบบพิมพ์ออฟเซ็ทก็เป็นระบบพิมพ์ที่เหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากระบบพิมพ์ออฟเซ็ทมีต้นทุนการผลิตแบบ Fixed Cost คือ ค่าอาร์ตเวิร์ค ค่าเพลท (แม่พิมพ์) และค่ารอบพิมพ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะคิดที่ 10,000 รอบพิมพ์เป็นจำนวน Optimum Quantity ในการผลิต ส่วนต้นทุนแปรผันหลักจะเป็นกระดาษ การพับ การเคลือบ หรือขบวนการหลังการพิมพ์ ซึ่งการผลิตที่มีต้นทุนในส่วน Fixed Cost มากย่อมทำให้การผลิตงานในจำนวนที่สูง ยิ่งเยอะยิ่งหารเฉลี่ยต้นทุน Fixed Cost ให้ถูกลง ดังนั้นการพิมพ์ระบบออฟเซ็ทจึงมีลักษณะเฉพาะในการสั่งงาน ถ้ายิ่งสั่งจำนวนมาเท่าใด ราคาต่อหน่วยจะยิ่งต่ำลงเท่านั้น
5. ระบบพิมพ์ Offset Printing มีระบบรองรับหลังการพิมพ์และการเพิ่มมูลค่าสิ่งพิมพ์ที่หลากหลาย
เนื่องด้วยระบบการพิมพ์ออฟเซ็ท Offset Printing เป็นระบบการพิมพ์มาตรฐาน ระบบรองรับขบวนการหลังการพิมพ์และการสร้างมูลค่าเพิ่มของการผลิตงานพิมพ์จึงมีทางเลือกให้กับผู้พิมพ์ที่หลากหลายมาก
5.1 การเคลือบงานพิมพ์ Offset Printing
ผู้ที่พิมพ์งานออฟเซ็ท สามารถเพิ่มมูลค่าการพิมพ์โดยเทคนิคการเคลือบงานพิมพ์ ซึ่งมีให้เลือกตั้งแต่การเคลือบเพื่อกันรอย เช่น เคลือบวานิชเงา เคลือบวานิชด้าน หรือการเคลือบเงาแบบธรรมดาเน้นต้นทุนที่ถูก ก็มีระบบเคลือบเงา UV ส่วนท่านที่ต้องการระบบเคลือบคุณภาพสูงขึ้น สามารถกันน้ำสัมผัสผิวหน้างานพิมพ์ได้ ก็สามารถเลือกเคลือบด้วยลามิเนตเงาหรือลามิเนตด้าน และสำหรับท่านที่ต้องการงานเคลือบที่แพงและนิยมมากสำหรับงานพิมพ์พรีเมี่ยม จะเลือกเคลือบลามิเนตด้าน Spot UV ซึ่ง Spot UV ทำได้หลายรูปแบบเช่น Gloss Spot UV, Pearl Spot UV, Glitter Spot UV หรือ Texture Spot UV เป็นต้น
5.2 การพับและการไดคัทขึ้นรูปสำหรับงานพิมพ์ Offset Printing
งานพิมพ์ออฟเซ็ท สามารถนำมาพับด้วยเครื่องพับหลากหลายรูปแบบตามที่ต้องการ และยังสามารถเพิ่มมูลค่างานด้วยการทำบล็อกปั๊มไดคัท เพื่อขึ้นรูปการเสนอสิ่งพิมพ์ที่มีความแตกต่างและตอบสนองความต้องการได้
5.3 การทำ Hot Stamp และการใช้สีพิเศษสำหรับงานพิมพ์ Offset Printing
การเพิ่มมูลค่าสำหรับงานพิมพ์ระบบออฟเซ็ท Offset Printing นิยมใช้สีพิเศษในการพิมพ์ โดยเลือกใช้สี Pantone ซึ่งเป็นสีเฉพาะที่หมึก CMYK ไม่สามารถผสมให้ได้ความกว้างของการแสดงสีได้ หรืออาจเลือกใช้หมึก Metallic เช่น หมึกสีทอง หมึกสีเงิน ในการพิมพ์งานเพื่อสร้างความแตกต่าง และผู้พิมพ์งานก็ยังสามารถเลือกใช้เทคนิค Hot Stamp หรือการปั๊มฟอยล์ลงไปที่งานพิมพ์ เช่น ปั๊มฟอยด์เงิน ปั๊มฟอยด์ทอง ปั๊มฟอยด์สี Rose Gold เป็นต้น
โรงพิมพ์ออฟเซ็ท Offset Printing ที่เน้นงานพิมพ์คุณภาพ
ท่านที่ต้องการโรงพิมพ์ออฟเซ็ท Offset Printing ที่สามารถให้คำปรึกษาตั้งแต่การออกแบบกราฟฟิกดีไซน์ หรือให้คำปรึกษางานพิมพ์โดยการวางแผนการออกแบบ การเลือกวัสดุกระดาษ เทคนิคการเพิ่มมูลค่าของสิ่งพิมพ์ และเป็นโรงพิมพ์ที่เน้นงานคุณภาพ สามารถติดต่อโรงพิมพ์ลักษมีรุ่ง โรงพิมพ์ลาดพร้าว ซึ่งเป็นโรงพิมพ์ครบวงจร ส่งสินค้าได้ทั่วประเทศ ดูรายละเอียดได้ที่ https://laxmirung.com/ หรือพูดคุยเพิ่มเติมทาง Line Official ID : @laxmirung
โรงพิมพ์ลักษมีรุ่ง รับพิมพ์งานพิมพ์ออฟเซ็ท Offset Printing ทุกประเภท
1. งานพิมพ์สำนักงาน Office Stationery Printing : นามบัตร, กระดาษหัวจดหมาย, ซองจดหมาย, แฟ้มบริษัท, บิลเคมีในตัว, เกียรติบัตร, สมุดโน๊ต, บัตรเชิญ, กระดาษห่อของขวัญ
2. งานพิมพ์ประชาสัมพันธ์การตลาด Marketing & Sales Promotion Printing : ใบปลิว, โบรชัวร์, แผ่นพับ, แคตตาล็อก, โปสเตอร์, ปฏิทินตั้งโต๊ะ, คูปอง วอชเชอร์, ป้ายตั้งโต๊ะ, ป้ายเด้ง, สมุดฉีก, กระดาษก้อน
3. งานพิมพ์บรรจุภัณฑ์ Packaging Printing : ถุงกระดาษ, กล่องกระดาษ, กล่องจัวปัง, ฉลากสินค้า สติ๊กเกอร์ Label, ป้ายแขวน, ซองตะเกียบ, กระดาษรองจาน กระดาษรองแก้ว
4. งานพิมพ์หนังสือ Book Printing : หนังสือ คู่มือ, นิตยสาร วารสาร, เมนูอาหาร, หนังสือสวดมนต์สั่งทำพิเศษ
บทความนี้เขียนโดย ธนินพงษ์ ศุภพิทักษ์พงษ์ เจ้าของโรงพิมพ์ลักษมีรุ่ง และโรงเรียนสอนการต่อสู้ IMAC Dojo ซอยโพธิ์แก้ว 3 แยก 9 ลาดพร้าว 101